1.อุบัติเหตุจากสารเคมี
2.1 สารอินทรีย์โดยเฉพาะตัวทำละลายส่วนมากไวไฟ และเกิดการลุกไหม้เมื่อให้ความร้อน ด้วยเปลวไฟโดยตรง สารเคมีเหล่านี้ได้แก่ แอลกอฮอล์ อีเทอร์ เบนซีน ฯลฯ ใน ห้องปฏิบัติการจะใช้สัญลักษณ์เครื่องหมายเปลวไฟสีแดง
2.2 ความไม่เสถียรของโมเลกุลสารอินทรีย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะโครงสร้าง เป็นสาเหตุให้ เกิดการระเบิดได้ เนื่องจากการทำปฏิกิริยาการกระทบกระแทก แรงดัน และอุณหภูมิสูง เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้ได้แก่ สารประกอบอะเซทิลีน (acetylenes) สารประกอบไนโตร (nitrocompounds) สารประกอบอะโซ (azo compounds) เกลือไดอะโซเนียม (diazonium salts) เป็นต้น
2.3 สารเคมีที่ท าปฏิกิริยากับอากาศอย่างช้าๆ เกิดเป็นสารประกอบเปอร์ออกไซด์ซึ่งเกิดการ ระเบิดได้เช่น อีเทอร์
2.4 สารเคมีมีหลายชนิดไม่แสดงอันตรายเมื่ออยู่โดยล าพัง แต่ถ้ารวมกับสารเคมีอื่นจะ เกิดปฏิกิริยารุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก อาจเกิดการลุกติดไฟ ระเบิดหรือให้แก๊สพิษ เช่น โลหะโซเดียมกับน้ า เกลือไซยาไนด์กับกรด เป็นต้น
2.5 สารเคมีมีความเป็นพิษต่อร่างกาย เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ตา ระบบหายใจ เช่น แอซีติล คลอไรด์ (acetyl chloride) และสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น เบนซีน
2.การป้องกัน
3.1 ศึกษาสมบัติและอันตรายของสารเคมีก่อนใช้จากหนังสือคู่มือ หรือฉลากบนขวด ในกรณีที่ หาข้อมูลของสารเคมีไม่ได้ วิธีที่ปลอดภัยวิธีหนึ่งคือ ท าการทดลองขั้นต้นโดยใช้สาร ปริมาณน้อยๆ และไม่ให้สารละลายที่เข้มข้นเกินไป ซึ่งท าให้สามารถประเมินลักษณะการ คายความร้อน และลักษณะทางกายภาพของปฏิกิริยาได้
3.2 หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีพิษเท่าที่จะท าให้ได้โดยการเลือกใช้สารที่มีพิษน้อยกว่า ซึ่ง ทดแทนกันได้
3.3 ใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการสัมผัส สูดดมสาร และไอของสาร
3.4 การลดโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุสามารถทำได้ ถ้าตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
3.4.1 การควบคุมอุณหภูมิของปฏิกิริยาได้ในกรณีที่จ าเป็น
3.4.2 ควบคุมสัดส่วนและความเข้มข้นของสารที่เข้าท าปฏิกิริยากัน
3.4.3 ความไม่บริสุทธิ์ของสารที่ใช้อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การมี สิ่งเจือปนที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
3.4.4 ความเร็วในการผสมสารเคมีเข้าด้วยกัน
3.4.5 ภาวะของปฏิกิริยา
3.4.6 ความดัน
3.5หลีกเลี่ยงการกระแทก หรือการเสียดทานของสารประกอบที่ไม่เสถียร
3.6 จัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมอย่างพอเพียง
3.7 สารที่เป็นพิษมากและสารที่ทำให้เป็นมะเร็งต้องจัดเก็บอย่างดี และต้องระวังอย่าให้สารที่ เข้ากันไม่ได้ มีโอกาสรวมตัวกัน
3.การปฐมพยาบาล
4.1 ตา ถ้าสารเคมีเข้าตา ให้รีบล้างตาโดยเปิดน้ าผ่านสายยางซึ่งจะช่วยให้น้ำพุ่งตรงที่หน้า และล้างตาได้ ระวังอย่าเปิดน้ำให้แรงเกินไปเพราะจะเป็นอันตรายต่อตา ควรล้าง ตาประมาณ 15 นาที
4.2 ปาก ถ้ากินสารเคมีเข้าไปโดยอุบัติเหตุ รีบถ่มออกทันที ล้างปาก แล้วกินน้ำหรือนมปริมาณมาก ตามลงไป นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด แจ้งรายละเอียดของสารเคมีนั้นต่อแพทย์
4.3 บาดแผล แผลเล็กน้อยที่ถูกมีดหรือแก้วบาด ล้างด้วยน้ าเย็นให้สะอาด ปิดบาดแผลด้วยผ้าพันแผล แล้วกดให้แน่นเพื่อห้ามเลือด เมื่อเลือดหยุดไหลท าความสะอาดแผลด้วยแอลกอฮอล์ ใส่ยา ปิดพลาสเตอร์ ถ้าเป็นแผลใหญ่และลึก รีบห้ามเลือด แล้วไปหาแพทย์
4.4 รอยไหม้ รอยไหม้เล็กน้อยจากเปลวไฟหรือการจับของร้อน ให้แช่บริเวณรอยไหม้ในน้ า หรือน้ าที่ มีน้ าแข็งประมาณ 5 นาที ถ้าเป็นส่วนของผิวหนังที่ลงแช่น้ าไม่ได้ ก็ใช้ผ้าชุบน้ าเย็นปิดคลุม
4.5 แผล ถ้าเป็นแผลใหญ่เอาเสื้อผ้าที่ปกคลุมแผลออกก่อน แล้วใช้ผ้าสะอาดปิดแผลบริเวณที่ ไหม้ และรอบๆ ไม่ให้ถูกอากาศ แล้วไปหาแพทย์ รอยไหม้จากสารเคมี ล้างด้วยน้ า และ ปฏิบัติดังนี้
เบส ล้างด้วยสารละลายกรดเจือจาง เช่น กรดน้ าส้ม 2%, สารละลายน้ าส้มสายชู 25%,กรดบอ ริก(boric) 1%
กรด ล้างด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) 2%
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
หนุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ หวิดดับคาสารเคมี
วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้า...
-
วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้า...
-
แฉสารพิษแหลมฉบังรั่ว อันตรายติดอันดับ6โลก แม่ค้าตาย1อาเจียนก่อนทรุด นร.ป่วยระนาว นายกฯสั่งสอบด่วน ผู้ว่าฯชลบุรีระบุ "สารเคมีโซเด...
-
4 มิย. รายงานข่าวแจ้งว่า เกิดเหตุสารเคมีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรีรั่ว ที่เกิดเหตุเกิดขึ้นบริเวณ เฟส 5 เป็นบริษัทผลิตและชุบเคลือบ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น