ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
สิ่งที่ควรตระหนักเป็นสิ่งแรกในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี คือ “ ความปลอดภัย ” ซึ่ง ความระมัดระวังในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบนั้นยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องช่วยกันสอดส่องดูแลห้องปฏิบัติการ ในภาพรวมด้วย หากพบสิ่งผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและส่วนรวมแล้วควรรีบด าเนินการ แก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้การที่ผู้ปฏิบัติงานศึกษา และท าความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนปฎิบัติ ในการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ดียิ่งขึ้น
1.ข้อควรปฏิบัติในการปฏิบัติงานกับสารเคมี
1.1ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง หากมีข้อสงสัยต้องสอบถามครูผู้สอนก่อนที่จะทำการทดลอง
1.2ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
1.3แต่งกายให้เหมาะสม เช่นสวมกางเกงหรือกระโปรงยาว สวมรองเท้ามิดชิดส้นเตี้ยคนที่มีผมยาวควรรวบผมให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เครื่องประดับและคอนแทคเลนส์
1.4 ควรสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ทำปฏิบัติการเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากสารเคมีกระเด็น เข้าตา
1.5 ควรสวมเสื้อปฏิบัติการทุกครั้งที่เข้าทำการปฏิบัติการ
1.6 อย่าปล่อยผมรุงรัง สวมเสื้อผ้าหลวมรุงรัง และเดินเท้าเปล่าหรือสวมรองเท้าแตะใน ห้องปฏิบัติการ
1.7 รู้ตำแหน่งที่เก็บอุปกรณ์สำหรับใช้ในเวลาฉุกเฉิน เช่น เครื่องดับเพลิง ชุดปฐมพยาบาล
1.8 รักษาความสะอาดโต๊ะและห้องปฏิบัติการตลอดเวลาการทดลอง และเสร็จการทดลอง
1.9 ปฏิบัติตามระเบียบในห้องปฏิบัติการ
1.10 อย่าชิมสารต่างๆ ในห้องทดลอง เพราะว่าสารเคมีส่วนมากเป็นพิษ และไม่ควรนำอาหาร เข้าไปรับประทานในห้องปฏิบัติการ
1.11 อย่าดมกลิ่นสารต่างๆ ด้วยการเอามาจ่อที่จมูก แต่ให้ถือหลอดทดลองที่มีสารเคมีนั้นไว้ ห่างๆ แล้วใช้มือโบกกลิ่นของสารนั้นให้เข้าจมูกเพียงเล็กน้อย
1.12 ใช้สารเคมีด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะกรดและเบสที่เข้มข้น สารเคมีที่เป็นตัวออกซิ- ไดส์อย่างแรง สารเคมีที่มีกลิ่นเหม็น หรือไอที่เป็นพิษ ให้ทำการทดลองในตู้ควัน
1.13 อย่าต้มของเหลวในหลอดทดลองขนาดเล็กด้วยเปลวไฟโดยตรง เพราะจะทำให้ของเหลว ในหลอดพุ่งออกไป อาจเป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อยู่ใกล้ ควรต้มในบีกเกอร์ซึ่งมีน้ำเดือด
1.14 ออกไซด์ (oxide) ของกำมะถันและไนโตรเจน แก๊สแฮโลเจน และแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2 S) เป็นแก๊สพิษ การทดลองใดๆ ที่เกี่ยวกับแก๊สพิษต้องทำการทดลองในตู้ควัน
1.15 ถ้าผิวหนังถูกกับกรดหรือเบสเข้มข้นให้รีบล้างด้วยน้ำจำนวนมากๆ ทันที หลังจากนั้นล้าง ด้วยสารละลาย 1% NaHCO3อีกครั้งหนึ่ง ถ้าสารเคมีกระเด็นเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำทันที และแจ้งให้อาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการทราบ
1.16 ถ้าเสื้อผ้าที่สวมใส่เกิดติดไฟขึ้น ให้พยายามดับไฟโดยการนอนกลิ้งลงบนพื้น
1.17 ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
หนุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ หวิดดับคาสารเคมี
วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้า...
-
วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้า...
-
แฉสารพิษแหลมฉบังรั่ว อันตรายติดอันดับ6โลก แม่ค้าตาย1อาเจียนก่อนทรุด นร.ป่วยระนาว นายกฯสั่งสอบด่วน ผู้ว่าฯชลบุรีระบุ "สารเคมีโซเด...
-
4 มิย. รายงานข่าวแจ้งว่า เกิดเหตุสารเคมีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรีรั่ว ที่เกิดเหตุเกิดขึ้นบริเวณ เฟส 5 เป็นบริษัทผลิตและชุบเคลือบ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น